ได้รับการรับรองจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ให้เป็นหน่วยฝึกอบรมด้านความปลอดภัย ฯ
เลขที่ใบอนุญาต จป ๑๓-๖๖-0๒๒
หลักสูตร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
(จป.หัวหน้างาน)
————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ 16 สิงหาคม 2565)
ข้อ 2 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
หมวด 1
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
ข้อ 4 นายจ้างของสถานประกอบกิจการประเภทที่ระบุในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ต้องจัดให้มี
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เว้นแต่เป็นสถานประกอบกิจการประเภทที่มีจำนวนลูกจ้างไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามวรรคหนึ่ง จะเป็นประเภทใดหรือระดับใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้
ข้อ 5 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมี 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
(1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง
(2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ
ข้อ 7 นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจำนวนสองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามบัญชี 3 ที่มีลูกจ้างจำนวนยี่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับหัวหน้างานซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 8 ทุกคน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว
ในกรณีที่ลูกจ้างระดับหัวหน้างานไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 8 ให้นายจ้างดำเนินการให้ลูกจ้างนั้นเข้ารับการฝึกอบรมตามข้อ 8 (1) เพื่อแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งให้เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน
ข้อ 8 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน และมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
(2) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
(3) มีคุณสมบัติตามข้อ 15 ข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี
ข้อ 9 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(2) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นจาก การทำงาน โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิค ขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
(3) จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ เพื่อเสนอคณะกรรมการความปลอดภัยหรือนายจ้าง แล้วแต่กรณี และทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุกหกเดือน
(4) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
(5) ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
(6) กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
(7) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัย ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
(8) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไข ปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(9) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
(10) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่กฎหมายกำหนด
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบถึงบทบาทและหน้าที่ของจป.หัวหน้างานตามที่กฎหมายกำหนด
วันที่ฝึกอบรม | สถานที่ฝึกอบรม | จังหวัด | จำนวนผู้เข้าอบรม | ราคา/ ท่าน | ลงทะเบียน |
13,14 มกราคม 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 30 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | สำรองที่นั่ง โทรเลย |
6,7 กุมภาพันธ์ 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 30 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | สำรองที่นั่ง โทรเลย |
10,11 มีนาคม 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 30 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | สำรองที่นั่ง โทรเลย |
21,22 เมษายน 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 6 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | สำรองที่นั่ง โทรเลย |
15,16 พฤษภาคม 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 6 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | ยืนยัน ฝึกอบรม |
4,5 มิถุนายน 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 30 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | สำรองที่นั่ง โทรเลย |
3,4 กรกฎาคม 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 30 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | สำรองที่นั่ง โทรเลย |
14,15 สิงหาคม 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 30 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | สำรองที่นั่ง โทรเลย |
9,10 กันยายน 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 30 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | สำรองที่นั่ง โทรเลย |
6,7 ตุลาคม 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 30 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | สำรองที่นั่ง โทรเลย |
6,7 พฤศจิกายน 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 30 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | สำรองที่นั่ง โทรเลย |
11,12 ธันวาคม 2568 | ศูนย์ฝึก อบรม ISTE | บ้านบึง ชลบุรี | 30 / 30 ท่าน | 2,500 บาท | สำรองที่นั่ง โทรเลย |
ราคา Training In-House
หลักสูตร | ราคาปกติ | ราคาสมาชิก | จำนวนผู้เข้าอบรม |
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน “ระดับหัวหน้างาน” | 25,500 B | 24,500 B. | 20 ท่าน /รุ่น |
หลักสูตร ภาษาอังกฤษ
หลักสูตร | ราคาปกติ | ราคาสมาชิก | จำนวนผู้เข้าอบรม |
Safety Officer Supervisory level | 65,000 บาท | 60,000 บาท | 20 ท่าน/รุ่น |
วันที่ 1 ของการอบรม
หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
- (ก) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- (ข) บทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- (ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน
- (ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ
วันที่ 2 ของการอบรม
หมวดวิชาที่ 3 การค้นหาอันตรายจากการทำงาน และการจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- (ก) การตรวจความปลอดภัย
- (ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย
- (ค) การสอบสวนและการรายงานอุบัติเหตุ
- (ง) การจัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
หมวดวิชาที่ 4 การป้องกันและควบคุมอันตราย
- (ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร
- (ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า
- (ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ
- (ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
- (ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี
- (ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านการยศาสตร์
- (ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง
- (ฌ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
กลุ่มเป้าหมาย
สถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ (๑) ถึง (๕) ที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไป
พนักงานระดับหัวหน้างาน
ระยะเวลาในการฝึกอบรม
หลักสูตร 2 วัน
การวัดผล
ทำทดสอบก่อน – หลังการอบรม /ระยะเวลาเช้ารับการอบรม 100 %
เนื้อหาการฝึกอบรม
คู่มือการฝึกอบรมที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดพิมพ์และจำหน่าย
การแต่งกายผู้เข้าอบรม
แต่งกายสุภาพ เหมาะสม กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มส้น / รองเท้าเซฟตี้
ไม่อนุญาตให้ใส่กางเกงขาสั้น และรองเท้าแตะเข้าอบรมทุกกรณี